เมนู

ก็ในบรรดาวาระทั้ง 3 ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงความถูก
ที่หมายและผิดที่หมาย ในบทมาติกาที่ตรัสด้วยอำนาจทูตทั้งหมดนี้นั้น บัดนี้
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวารก่อน. ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมพูดาคำนั้นเบา ๆ หรือ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนั้นเป็นคนหูหนวก จึงประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธอจง
อย่าฆ่า, ไม่ได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้ต้นเดิมจึงไม่พ้น. ในทุติยวาร พ้นได้
เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ส่วนในตติยวาร แม้ทั้ง 2 รูป ก็พ้นได้ เพราะ
ภิกษุที่เป็นต้นเดิมนั้นประกาศให้ (ภิกษุผู้รับสั่ง) ได้ยิน และเพราะภิกษุผู้รับ
สั่งนอกนี้ ก็รับคำว่า ดีละ แล้วงดเว้นเสีย ฉะนั้นแล.
ทูตกถา จบ

เรื่องที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ


ใน อรโห รโหสัญญินิเทศ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
บทว่า อรโห ได้แก่ ต่อหน้า. บทว่า รโห ได้แก่ ลับหลัง.
บรรดาชน 2 คน (คือ ผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลัง และผู้มีความสำคัญ
ลับหลังว่าต่อหน้านั้น) ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรกัน มาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
แล้วนั่งอยู่ข้างหน้านั่นเอง ในเวลาอุปัฏฐาก ไม่ทราบข้อที่เธอมา เพราะโทษ
คือความมืด พอใจความตายของภิกษุผู้มีเวรกันนั้น จึงพูดจาถ้อยคำเช่นนี้ขึ้น
ว่า เจ้าพระคุณ ! ขอให้ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ถูกฆ่า, ทำไมพวกโจร จึงไม่ฆ่ามัน
เสีย, งูจึงไม่กัดมันเสีย, ใคร ๆ จึงไม่เอาศัสตราหรือยาพิษมาวางมันเสีย,
ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลังพูดจา. อธิบายว่า ผู้มีความ
สำคัญในที่ต่อหน้านั้นว่าลับหลัง. ฝ่ายภิกษุใด เห็นภิกษุผู้มีเวรกันนั้นนั่งอยู่